ชาวจีนสมัยโบราณนั้นใช้นาฬิกาแดด (日晷:rìguǐ) และนาฬิกาน้ำ (漏壶:lòuhú), นาฬิกาทราย (沙漏) เป็นเครื่องมือบอกเวลา โดยนาฬิกาแดดจะแบ่งออกเป็น 12 ช่อง แต่ละช่องมีหน่วยนับเป็น “ชั่วยาม (时辰:shíchén)” อาศัยการสังเกตเงาของดวงอาทิตย์ที่ตกทอดลงบนหน้าปัดกลม ส่วนนาฬิกาน้ำจะแบ่งออกเป็น 100 ขีด แต่ละรอยขีดเขียนตัวอักษรบอกจำนวนไว้ มีหน่วยนับเป็น “เค่อ (刻:kè)” ใช้หลักการหยุดอย่างสม่ำเสมอของน้ำ แล้วอาศัยสังเกตการลดลงของน้ำถึงแต่ละขีด สามารถเทียบกับเวลาสากลในปัจจุบันได้ดังนี้
ชั่วยาม (时辰:shíchén)
1 ชั่วยาม เทียบเท่ากับ 2 ชั่วโมงตามเวลาสากล ในหนึ่งวันมีทั้งหมด 12 ชั่วยาม โดยเรียกแต่ละชั่วยามตามชื่อปีนักษัตรดังนี้
ยามจื่อ (子:zǐ) คือ 23.00 - 24.59 น.
ยามโฉ่ว (丑:chǒu) คือ 01.00 - 02.59 น.
ยามอิ๋น (寅:yín) คือ 03.00 - 04.59 น.
ยามเหม่า (卯:mǎo) คือ 05.00 - 06.59 น.
ยามเฉิน (辰:chén) คือ 07.00 - 08.59 น.
ยามซื่อ (巳:sì) คือ 09.00 - 10.59 น.
ยามอู่ (午:wǔ) คือ 11.00 - 12.59 น.
ยามเว่ย (未:wèi) คือ 13.00 - 14.59 น.
ยามเซิน (申:shēn) คือ 15.00 - 16.59 น.
ยามโหย่ว (酉:yǒu) คือ 17.00 - 18.59 น.
ยามซวี (戌:xū) คือ 19.00 - 20.59 น.
ยามห้าย (亥:hài) คือ 21.00 - 22.59 น.
เค่อ (刻:kè)
1 เค่อ เทียบเท่ากับ 15 นาทีโดยประมาณตามเวลาสากล ในหนึ่งวันมีทั้งหมด 100 เค่อ ในแต่ละชั่วยามมีทั้งหมด 8 เค่อ เมื่อหมดวันน้ำจะลดถึงก้นถัง รอเติมน้ำจนเต็มเพื่อนับเวลาในวันถัดไปค่ะ
แก้ไขเมื่อ 18 ม.ค. 2561, 10:27 โดย Admin-P