โพสต์เมื่อ 19 มี.ค. 2561, 11:01
สัตว์จตุรเทพผู้พิทักษ์จตุรทิศของจีน : มังกรเขียว(青龙)
มังกรเขียว (ชางหลง (苍龙) หรือ ชิงหลง(青龙)) สัตว์เทพประจำทิศตะวันออก
.
ที่มาของมังกรมีหลายที่มาแตกต่างกันไป โดยที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้ และในยุคที่หลักธาตุทั้งห้า (ทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน) เฟื่องฟู ก็ค่อยๆ เริ่มมีการเล่าขานเกี่ยวกับเรื่องราวของมังกรเขียว ผู้เชี่ยวชาญในหลักธาตุทั้งห้าได้กำหนดสีให้แก่ทิศทั้งสี่และทิศกลางตามหลักอินหยาง (阴阳 : หยินหยาง) และหลักธาตุทั้งห้า ทั้งยังกำหนดสัตว์เทพให้คู่กับสีเหล่านั้นอีกด้วย โดย ทิศตะวันออกกำหนดให้เป็นสีเขียว คู่กับมังกร ทิศตะวันตกกำหนดให้เป็นสีขาว คู่กับเสือ ทิศใต้กำหนดให้เป็นสีแดงชาด คู่กับนกยูง ทิศเหนือ กำหนดให้เป็นสีดำ คู่กับเต่างู ทิศกลางกำหนดให้เป็นสีเหลือง
.
มังกรเขียว เสือขาว เต่างูดำ ยูงแดง ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มดาวประจำทิศทั้งสี่ซึ่งมีทั้งสิ้น 28 กลุ่มดาว โดยแบ่งเป็นทิศละ 7 กลุ่มดาว มังกรเป็นตัวแทนของกลุ่มดาวทางทิศตะวันออก อันประกอบด้วย กลุ่มดาวเจี่ยว (角) กลุ่มดาวค่าง (亢g) กลุ่มดาวตี (氐) กลุ่มดาวฝาง (房) กลุ่มดาวซิน (心) กลุ่มดาวเหว่ย (尾) และกลุ่มดาวจี (箕) และรูปร่างของกลุ่มดาวทั้งเจ็ดกลุ่มดาวนี้เหมือนมังกรมาก ซึ่งดูออกได้อย่างชัดเจนจากชื่อของแต่ละกลุ่มดาว โดย เจี่ยวคือเขาของมังกร ค่างคือคอ ตีคือฐาน หรือก็คือฐานคอ ฝางคือสีข้าง ซินคือหัวใจ เหว่ยคือหาง จีคือปลายหาง
.
ประเทศจีนในสมัยโบราณ มังกรที่มีเขาคือมังกรตัวผู้ มังกรที่มีสองเขาเรียกว่า “หลง” (龙 : มังกร) มังกรที่มีเขาเดียวเรียกว่า “เจียว”(蛟 : มังกรน้ำ) มังกรที่ไม่มีเขา เรียกว่า “ชือ” (螭) ในประเทศจีน มังกรคือสัตว์เทพ มีฐานะสูงสุด และเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้ มังกรเป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันออก สังกัดธาตุไม้ในธาตุทั้งห้า และเนื่องจากสีแทนธาตุไม้คือสีเขียว มังกรซึ่งเป็นสัตว์เทพประจำทิศตะวันออกจึงมีสีเขียวตามสีของธาตุไม้
.
#สนพสุรีย์พร #สัตว์จตุรเทพผู้พิทักษ์จตุรทิศของจีน #มังกรเขียว